Wednesday 27 May 2015

งานแทงค์ใต้ดิน

ระบบสีที่ใช้ 

Primer :  Epicon Zinc HB-2. ความหนา. 75 ไมครอน
under Coat :  Coaltar Epoxy - Coaltar 1000 supper K. ความหนา 200 ไมครอน
Top Coat :     Coaltar Epoxy-Coaltar 1000 Supper K. ความหนา 200 ไมครอน
ความหนารวม. :  475. ไมครอน
อายุใช้งาน 10 ปี


ไปดูเรือที่เค้าเพิ่งขึ้นมาเตรียมตัวซ่อมแซมกันดีกว่า

วันนี้ได้มีโอกาสไปเยี่ยมลูกค้าที่นำเรากลับมาขึ้นคานหลังออกทะเลไปสองปีกว่าๆ เป็นเรือประมงเหล็กขนาดกลาง-ใหญ่

เรือลำนี้ขึ้นที่อู่หะริน จ.สมุทรสาคร มาดูบรรยากาศคานเรือกันก่อนนะคะ


ทีนี้มาดูเรือที่จึ้นอู่กันบ้างดีกว่าค่ะ (พอไปอยู่ตรงนั้นแล้วรู้สึกว่าตัวเองตัวเล็กไปเลยทีเดียวค่ะ)


  
ถ้าสังเกตุจะเห็นได้ว่าในขณะนี้มีเรือขึ้นอู่พร้อมกันอยู่ 2 ลำทีเดียวค่ะ
(อย่างไรขอพูดถึงเรือที่เป็นลูกค้าเราอย่างเดียวนะคะ ไม่กล้าเดาเรืออื่นค่ะ อิอิ) 



ขอออกตัวก่อนเลยนะคะว่ายังมีประสปการณ์ภาคสนามไม่มาก ถ้าส่วนใดเรียกผิดเรียกถูก ต้องขออภัย ณ ที่นี้เลยนะคะ

เรือลำนี้ใช้สีกันเพรียงชูโกกุค่ะ โดยเป็นระบบดังนี้
1. โคลทาร์อิพ็อกซี่ ซุปเปอร์เค  เพื่อปกป้องเหล็กไม่ให้แต่น้ำ
2. สีทอง ซิลแวค เอส คิว เพื่อเชื่อยึดสีขั้นแรกเข้ากับสีกันเพรียง
3. สีกันเพรียง ซีเทนเดอร์12 


สภาพโดยรวมหลังจากกลับมาเป็นที่น่าพอใจมากๆค่ะ เพราะสีอยู่ในเกณฑ์ที่ดี สีกันเพรียงที่ใช้ยังสามารถป้องกันเพรียงได้ตามระบบสีที่วางไว้โดยไม่เข้าไปถึงชั้นสีที่ติดกับเหล็ก ทำให้เมื่อกลับมาไม่ต้องเสียเวลาและยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาด 
ก่อนทำสีใหม่อีกด้วย 

ลองมาดูภาพแบบใกล้ๆกันนะคะ


ด้านบนนี้เป็นภาพเรือหลังจากขึ้นมาสดๆเลยนะคะ ยังไม่ได้ผ่านการทำสีหรือทำความสะอาดใดๆทั้งสิ้น 

สุดท้ายทางเจ้าของเรือเลยตกลงปลงใจกับระบบสีเดิมที่เราเคยวางไว้ให้เมื่อสองปีที่แล้วเหมือนเคย:) 


ถ้าท่านใดสงสัยหรืออยากปรึกษาเรื่องระบบสีต่างๆ ลองเข้ามาดูที่ www.kasempongratonline.com หรือสอบถามมาทางนี้ก็ได้นะคะ แล้วจะนำเรื่องราวประสปการณ์ใหม่ๆมาฝากอีกนะคะ





เริ่มต้นบล็อคแรกด้วยงานเวิร์คช็อบทีโอเอกันเลยดีกว่า

สวัสดีคะ วันนี้จะเป็นการเขียนบล็อคครั้งแรกนะคะ
ถ้ามีอะไรผิดพลาดหรือไม่เหมาสม ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้เลยนะคะ

เรามาเริ่มกันที่งานเวิคช็อบของทีโอเอดีกว่าค่ะ
ครั้งนี้จัดขึ้นภายในบริษัท และเกษมพงษ์รัตน์ของเราก็โชคดีมากๆที่ได้มีโอกาสไปร่วมงานนี้

เป็นการสาธิตวิธีสร้างลายพื้นวอลเปเปอร์ให้กับฝาผนังคะ หรือที่เค้าเรียกกันง่ายๆว่าสีทำลายนั่นแหละ (ไม่ใช่ทำลายนะ เป็นการทำให้เกิดลายค่ะ)
งานนี้เค้าอิมพอร์ทช่างมาจากเมืองนอกทีเดียวนะคะ (ไม่ธรรมดาจริงๆใช่ไหมหล่ะ)

เริ่มตั้งแต่ตอนแรกที่ไปถึงเลยละกันนะคะ

พอไปถึงโรงงานทีโอเอสก็มีคนมาต้อนรับเป็นอย่างดีและพาเราไปห้องๆหนึ่งซึ่งดูเหมือนกำลังก่อสร้างอยู่

เข้าไปถึงจึงได้เข้าใจว่า  ทีโอเอเค้าลงทุนจัดสถานที่ให้มาทดลองทำลวดลายกันเลย ภายในเต็มไปด้วยช่างสีชื่อดังมากมายกำลังทดสอบวิธีทำลายของจริงกันอยู่ (จริงๆแล้ววานนี้เค้ามี3วันค่ะ แต่เราไปเอาวันสุดท้ายเลยต้องตามเก็บภาพที่เค้าทำกันไปแล้วแทนเนอะ) 

พอถึงเวลาอันสมควรช่างที่เป็นวิทยากรณ์ในวันนี้(ขอเรียกว่าช่างฝรั่งละกันนะคะ) ก็เริ่มอธิบายกันโดยการให้ล้อมเป็นวงกลมและตั้งกระดานเพื่อสาธิตค่ะ (บรรยากาศประมาณฟังครูพูดในมหาลัย ประมาณนั้นค่ะ)


พอเสร็จแล้วก็เริ่มสาธิตค่ะ ได้ความมาว่าสีประเภทนี้จะมี2ส่วน แต่ไม่ใช่2ส่วนผสมกันนะคะ แต่เป็นสีสองขั้นตอนที่จะเสริมกันให้เกิดลายค่ะ

1. ลงสีขั้นแรกซึ่งเป็นสีพื้นก่อน แล้วแต่เทคนิคจะสรรค์สร้าง คราวนี้ให้เราปัดแปรงระบายเป็นรูป X X X ไปเรื่อยๆให้เกิดลายขั้นแรกค่ะ

2. หลังจากรอให้สีขั้นแรกแห้งแล้วเราจึงมาลงสีที่เป็นเนื้อกลิตเตอร์ (กากเพรช) เพื่อให้ลายเกิดและดูมีมิติเพิ่มขึ้นค่ะ ส่วนวิธีการลงแปรงก็ยังตัดเป็นลายXXX เหมือนเดิม (เรื่องลายนี่ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันนะคะช่างบางคนออกไปสาธิตเป็นลายวงกลม ลายสี่เหลี่ยมก็สวยไปอีกแบบค่ะ)


พอเริ่มมีไอเดียคราวนี้ก็ถึงเวลาลงลายกับผนังจริงบ้างนะคะ 

โดยช่างฝรั่งเค้าเริ่มให้ก่อนค่ะ (กลัวช่างไทยเขินไม่กล้าเปิด) โดยเริ่มจากขอบด้านใดด้านนึงก่อนแล้วไล่ๆลงไปตามแนวที่ถนัดนะคะ


ทีนี้ก็ตาพวกเรากันบ้างแล้วหล่ะคะ (แนวไหนใครถนัดก็ลงมือกันเลยค่ะ) มาดูบรรยากาศกันดีกว่านะคะ



นั่นไง...บน กลาง ล่าง พร้อมกันทีเดียวเลย
มาดูกันดีกว่าว่าสุดท้ายหน้าตามันจะออกมาอย่างไร



ได้มาแล้วค่ะ กำแพงลายที่สร้างจากสี รับรองคราวนี้ไม่ต้องพึ่งวอลเปเปอร์แล้ว 

ถ้าท่านใดมีปัญหาสอบถามเพิ่มเติมได้ที่www.kasempongratonline.com นะคะ